หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียม“แอชตัน อโศก” (Ashton Asoke) เนื่องจากขัดพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่กำหนดว่าอาคารสูงต้องมีทางเข้าออกด้านใดด้านหนึ่งยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ

ล่าสุดมีความเห็นจากสถาปนิกรายหนึ่งชี้ว่าทางรอดทางเดียวของแอชตัน อโศก โดยนายวสันต์ สอาดเย็น สถาปนิกและนักธุรกิจ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Diow Saardyen ระบุว่า ทางรอดของบริษัทอนันดาฯ น่าจะเหลือทางเดียว คือหาทางเข้า-ออกอื่นที่ไม่ใช่ด้านรถไฟใต้ดิน

โดยสถาปนิกรายดังกล่าว บอกอีกว่า จะเหลือด้านซอย 19 ปัจจุบันมีซอยเล็ก ๆ กว้างประมาณ 4 เมตรอยู่แล้ว 2 ซอย ก็จะต้องกว้านซื้อตึกแถวที่ติดกับถนนซอยนี้ลึกไปจนถึงโครงการ เพื่อเอามาทุบทำเป็นทางเข้าออกให้ได้กว้าง 12 เมตรตามกฎหมาย ซึ่งยากเหมือนกัน เพราะทุกหลังต้องขายหมด ฟันหลอไม่ได้เลยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 ไม่ใช่เรื่องง่าย! ไอเดีย “Ashton Asoke” กว้านซื้อที่ทำทางเข้า-ออกใหม่

ชี้ช่องกฎหมาย หาทางออก “Ashton Asoke” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 58

ลูกบ้านกังวล! หวั่นทุบ “Ashton Asoke” หลังศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

ทั้งนี้ทีมข่าวสำรวจซอยด้านหลังโครงการแอชตัน อโศก ตามโพสต์ดังกล่าว พบว่าถนนตรงกลางซอยกว้างถึง 4 เมตรจริง ส่วนอาคารสองฝั่งซ้ายขวา ก็มีหน้ากว้างตึกละ 4 เมตร หากแอชตันซื้อตึกและทำเป็นทางเข้าออก จะได้ทางเข้าออกถนนกว้าง 12 เมตรตามกฎหมาย แต่ชาวบ้านบริเวณนี้บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ง่ายเลย

เพราะในซอยดังกล่าวเป็นซอยส่วนบุคคล ไม่ใช่ของกทม. มีทั้งบ้านอยู่อาศัย และทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโฮสเทล ร้านเช่ามอเตอร์ไซค์ และร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง รวม 16 หลังคาเรือน ส่วนด้านหน้าติดกับถนนมีอาคารพาณิชย์อีก 2 หลังเป็นร้านนวด และถัดไปเล็กน้อยยังมีซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 ซึ่งอยู่ด้านหลังคอนโดแอชตัน อโศก เช่นกัน ซอยนี้มีประตูเชื่อมกับคอนโด สำหรับลูกบ้านเดินเข้าออกผ่านทางด้านหลังคอนโด ด้านในซอยมีทั้งร้านนวด และสำนักงานบริษัท ส่วนด้านหน้าติดถนนเป็นร้านชุดสูทและร้านนวด

โดยนายชุณห์ ซึ่งอาศัยอยู่ในซอยนี้มานานกว่า 35 ปี บอกว่า ทางบริษัทอนันดาฯ ไม่เคยมาเจรจาขอซื้อตึกบริเวณนี้ ถามว่ามีโอกาสขายได้ไหม ก็ต้องมาเจรจากัน แต่มองว่าไม่ง่ายเลยเพราะต้องได้รับความยินยอมจากทุกหลัง ซึ่งบางบ้านเขาก็ไม่อยากขาย แต่ละคนฐานะการเงิน แต่ละความคิด บ้านหลายหลังคิดอีกแบบหนึ่ง บางคนขายแล้วจะไปอยู่ตรงไหน

ทั้งนี้ทีมข่าวได้สอบถามความคิดเห็นเจ้าของอาคารในซอบดังกล่าวพบว่าหนึ่งในคนที่ไม่ยอมขายคือร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างซึ่งอยู่ท้ายซอย โดยยืนยันว่าจะไม่ขายที่ดินแน่นอน เพราะอยู่มานานกว่า 20 ปีแล้ว ค้าขายตรงนี้ได้เดือนละหลายหมื่นบาท การเดินทางสะดวกสบาย ขายไปก็ได้ไม่คุ้มเสีย

ขณะที่นายอมิต เซกัน เจ้าของร้านสูทในบริเวณดังกล่าวให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ส่วนตัวเคยเสนอกับทางโครงการไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน เพราะเรื่องนี้เป็นคดีความมานานแล้ว ว่าถ้าต้องการซื้อตึกบริเวณนี้จะช่วยแนะนำเจรจาให้ได้ แต่เขาบอกว่าไม่เอา มีทางของเขาแล้ว

นายอมิตยังบอกว่าหากมีการซื้อขายจริง ๆ ราคาก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าของตึกแต่ละหลัง แต่เท่าทีตนรู้มาที่แถวนี้ก็ตารางวาละกว่า 1 ล้านบาท

By admin