สถานการณ์ประชากรโลกในปัจจุบันแม้จะมีจำนวนผู้คนในประเทศต่าง ๆ รวมกันมากถึงกว่า 8 พันล้านคน แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีงานวิจัยชิ้นใหม่ที่พบว่ามนุษยชาติเคยเกือบสญพันธุ์มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ 1 ล้านปีก่อน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ผลการศึกษาดังกล่าวถูกเผยเผยแพร่ในวารสาร “ไซแอนซ์” (Science) เมื่อวันศุกร์ (1 ก.ย.) ที่ผ่านมาโดยเป็นผลงานของคณะนักวิทยาศาสตร์จากจีน อิตาลี และสหรัฐฯ

พบหลักฐาน “ความเย็นครั้งใหญ่” นำพาหายนะมาสู่มนุษย์โบราณในยุโรป

พบกะโหลกปริศนาอายุ 3 แสนปี เป็นของ “มนุษย์โบราณที่ไม่มีใครเคยรู้จัก”

ยืนยัน “โลมาวากีตา” ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งโลกเหลืออยู่เพียง 10 ตัว

พวกเขาได้พัฒนาวิธีการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต หรือจีโนม (genome) แบบใหม่ที่มีชื่อว่าฟิตโคล (FitCoal) ซึ่งสามารถสันนิษฐานขนาดประชากรในอดีต และใช้แบบจำลองวิเคราะห์ลำดับจีโนมของประชากร 3,154 คน จากประชากรเชื้อสายแอฟริกันและที่ไม่ใช่เชื้อสายแอฟริกัน

โดยผลการศึกษาชิ้นนี้ระบุว่าว่าบรรพบุรุษของมนุษย์มากถึง 98.7 เปอร์เซนต์ได้สูญพันธุ์ไปในช่วงแรกของสภาวะคอขวดด้านประชากร โดยเหลือผู้ที่สามารถสืบพันธุ์ได้เพียง 1,280 คนแต่ยังมากพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้อีกราว 120,000 ปีต่อมาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 วิจัยใหม่พบ มนุษย์เคยเกือบสูญพันธุ์เมื่อ 1 ล้านปีก่อน

สภาวะคอขวดด้านประชากรนี้กินระยะเวลาที่ยาวนานและรุนแรง ซึ่งอาจลดความหลากหลายทางพันธุกรรมของมนุษย์ยุคใหม่ลงราว 66 เปอร์เซนต์และสภาวะคอขวดยังเชื่อมโยงกับการรวมตัวของโครโมโซมต้นกำเนิด 2 แท่ง ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าโครโมโซม 2 (chromosome 2) ในประชากรมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่

การลดลงของจำนวนประชากรเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนผันเข้าสู่ยุคน้ำแข็งระยะยาว อุณหภูมิพื้นผิวทะเลลดลง และแนวโน้มเกิดภาวะแห้งแล้งเป็นเวลานานในทวีปแอฟริกาและภูมิภาคยูเรเซีย โดยการศึกษานี้ช่วยอธิบายถึงการสูญเสียหลักฐานซากฟอสซิลของทวีปแอฟริกาและภูมิภาคยูเรเชียในยุคหินช่วงต้น

นอกจากนี้ การต่อสู้ดิ้นรนของบรรพบุรุษช่วงระหว่าง 930,000-813,000 ปีก่อน เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่บรรดานักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) และมนุษย์เดนิโซวาน (Denisovan) ยังมีชีวิตอยู่ร่วมกับมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคใหม่

พานอี้ซวน ผู้เขียนอาวุโสของรายงานการศึกษาฉบับดังกล่าวจากมหาวิทยาลัยครูหัวตง เปิดเผยว่าการค้นพบครั้งใหม่นี้เป็นการเปิดมิติใหม่ด้านวิวัฒนาการมนุษย์ เนื่องจากนำไปสู่การตั้งคำถามมากมาย เช่น สถานที่แห่งหนใดที่มนุษย์กลุ่มนี้เคยอาศัยอยู่ หรือเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเลวร้ายได้อย่างไร ตลอดจนการคัดเลือกตามธรรมชาติ ในช่วงสภาวะคอขวดได้เร่งวิวัฒนาการของสมองมนุษย์หรือไม่

ทีมนักวิจัยยังเชื่อว่าการรู้จักใช้ประโยชน์จากไฟและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น อาจมีส่วนส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา

ภาพจากALFREDO ESTRELLA / AFP

ประกาศฉบับที่ 16 รับมือ “ฝนตกหนัก” จนถึง 6 ก.ย.

ลิงก์ดูสดวอลเลย์บอลหญิง ! ไทย พบ เวียดนาม ชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 วันที่ 4 ก.ย. 66

บีวายดี ประกาศเลิกติดชื่อแบรนด์ Build Your Dreams ที่ฝากระโปรงท้าย

By admin