ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ในช่วงปลายสัปดาห์เนื่องจากวันหยุดทำการของสหรัฐอเมริกา และยุโรป ในวัน Good Friday และเทศกาล Easter Monday ในวันนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 236,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5%

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์กลับมาอชอ่อนค่า

ขณะที่พันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve อีกครั้งในวันศุกร์ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย นักลงทุนคาวว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.คคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน เม.ย

ธอส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ มีผล 10 เม.ย. 66

ส่องสถิติราคาก่อนสงกรานต์ ทองไทยไม่ขยับ ต่างประเทศปิด Good Friday

ไทยพาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ย "เงินฝาก-กู้" มีผลตั้งแต่ 6 เม.ย. 2566

สำหรับปัจจัยด้าน Fund flow ต่อค่าเงินบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิเมื่อวันศุกร์ 592 ล้านบาทและซื้อพันธบัตรสุทธิ 775 ล้านบาท ตามลำดับ.

แนะนำผู้นำเข้าควรซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดกลับมากังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวหนัก จนอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า แนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟดอาจชัดเจนขึ้น จาก รายงานอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ รวมถึงรายงานการประชุมเฟดล่าสุด และควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ในสัปดาห์นี้

 ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดอ่อนค่า คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

แม้ว่ารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะออกมาแย่กว่าคาด สร้างความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงชะลอตัวลงหนักและเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ดี ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ที่ออกมาดีกว่าคาดนั้น ได้สะท้อนภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว ทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมาเชื่อว่าเฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้

จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อราว 71%

ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม รวมถึงรายงานการประชุมเฟดล่าสุดและถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจชะลอตัวลงต่อเนื่อง

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI (ไม่รวมผลของราคาพลังงานและอาหาร) สอดคล้องกับการปรับตัวลงของราคาพลังงานและภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อ CPI และ Core CPI อาจยังคงอยู่ในระดับสูงราว 5.2% และ 5.6% ทำให้เรามองว่า เฟดก็ยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อจนแตะระดับ 5.25% ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ใน Dot Plot ล่าสุด

นอกเหนือจากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะภาพการบริโภคของครัวเรือน ผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมีนาคม ซึ่งอาจยังคงหดตัวลงราว -0.4%m/m และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) ในเดือนเมษายน ที่อาจทรงตัวที่ระดับ 62 จุด หนุนโดยความกังวลปัญหาเสถียรภาพระบบธนาคารที่คลี่คลายลง รวมถึงการจ้างงานที่ยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจถูกกดดันบ้างจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งได้แรงหนุนจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการจ้างงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในส่วนภาคการบริการ จะช่วยหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนมีนาคม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53 จุด อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคอาจยังคงเป็นภาวะเงินเฟ้อสูง

แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า ค่าเงินบาท มีโอกาสอ่อนค่าเล็กน้อย หากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจริงตามคาด ทั้งนี้ เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าไปมาก โดยมีโซนแนวต้านแถว 34.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเรายังคงเห็นโฟลว์ขายเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้ส่งออก

สัญญาณเชิงเทคนิคทั้ง RSI และ MACD ยังชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways โดยมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน (แถว 34.30 บาทต่อดอลลาร์) เป็นโซนแนวต้านแรกในช่วงนี้ แต่หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านและยืนเหนือระดับ 34.40 บาทต่อดอลลาร์ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ขึ้นมาเคลื่อนไหวในโซนถัดไปในช่วง 34.50 บาทต่อดอลลาร์

By admin